วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน




ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อน

แล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์

กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น

และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้




งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ปกติจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน งานเกี่ยวกับการคิดคำนวณ งานที่ต้องการความรวดเร็วและความถูกต้องสูง งานที่มีผลลัพท์และกฏเกณฑ์ค่อนข้างแน่นอน งานที่ทำงานอัตโนมัติต่าง ๆ ตัวอย่างของงาน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม งานการจัดการข้อมูล งานด้านการติดต่อทางไกล งานกราฟิก งานด้านการจำลองสถานการณ์เช่นการฝึกบิน การด้านการลงทุนและการเงิน งานด้านความบันเทิง การควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ บุคลากรคอมพิวเตอร์ คนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นอกจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป แล้ว ยังอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม




1. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ




2. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เช่น นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ




3. กลุ่มบุคลากรสนับสนุนและบริการ เช่น ทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ผู้ประมวผลข้อมูล ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบงานเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตผลงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ให้บริการทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่สำหรับเขียนเป็นคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นภาษาประดิษฐ์(artificial language) ก็คือภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้น มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ตายตัวและจำกัด มีการตีความหมายที่ชัดเจน มีรูปแบบเป็นทางการ ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ระดับ




1. ภาษาเครื่อง(machine language) เป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เขียนอยู่ในรูปรหัสของเลขฐานสอง คือ ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 นำมาเขียนเรียงกัน ประโยคคำสั่งภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร และส่วนที่ระบุแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ทำงานตามคำสั่ง




2. ภาษาระดับต่ำ(low-level language) หรือภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่มีลักษณะใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนการใช้เลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เป็นคำสั้น เช่น ADD หมายถึง การบวก ฯลฯ ภาษาแอสเซมบลีนี้ก็ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ และต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถรับรู้และทำงานตามคำสั่งได้ เพราะเครื่องจะรับรู้เฉพาะภาษาที่เป็นเลขฐานสอง ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)




3. ภาษาระดับสูง(high-level language) เป็นภาษาที่พัฒนาในยุคต่อ ๆ มา พยายามให้ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ หรือดัดแปลงเล็กน้อยก็สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบอื่นได้ และพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ภาษาระดับสูงนี้สั่งคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ได้ต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) จะแปลทีละคำสั่งและสั่งให้เครื่องทำงานทันทีทีละคำสั่งจนจบงาน

คอมไพเลอร์ (compiler) จะแปลทุกคำสั่งเก็บไว้เป็นแฟ้ม และเมื่อเรียกแฟ้มขึ้นมาก็สั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่งในแฟ้มภาษาเครื่องนั้น ดังนั้นการทำงานด้วยคอมไพเลอร์จึงเร็วกว่าอินเทอร์พรีเตอร์

ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา เช่น ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาจาวา ภาษาโปรลอก ภาษาโลโก ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น